อำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกร ฯ

1. พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรภายในจังหวัด
2. ประสานนโยบายและการดำเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกร เกษตรกร สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐ
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และยุวเกษตรกร ในจังหวัด ในรูปแบบต่างๆ
4. เสนอแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อบูรณาการเป็นแผนแม่บทเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
5. สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและ ยุวเกษตรกร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างครบวงจรและยั่งยืน
6. เสนอนโยบายและแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม รวมทั้งราคาผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ไม่เป็นธรรมต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ
7. ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกร
8. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อการดำเนินการใดๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัตินี้
9. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากสภาเกษตรกรแห่งชาติ
 
          ในการดำเนินการของสภาเกษตรกรทั้ง 2 ระดับ กฎหมายกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดขึ้น มีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ วางกฎหมายว่าด้วย การงบประมาณหรือกฎหมายอื่นๆ โดยมีเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติและหัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง มีอำนาจดังนี้
อำนาจหน้าที่ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด 
1. รับผิดชอบงานธุรการ และทำหน้าที่เป็นเลขานุการของสภาเกษตรกรจังหวัด
2. รวบรวม ศึกษา วิจัย พัฒนา และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด
3. ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร ได้ทราบถึงนโยบาย แผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัด และการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด
4. จัดให้มีระบบฐานข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลงานการวิจัยและองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิต ผลผลิต การแปรรูป ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม รวมทั้งการตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
5. ประสานการดำเนินงานกับเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
6. จัดทำรายงานประจำปีของสภาเกษตรกรจังหวัด
7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสภาเกษตรกรจังหวัดมอบหมาย